วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

อันตรายจากเครื่องสำอาง

อันตรายจากเครื่องสำอาง






สวยเสี่ยงภัยจาก 'เครื่องสำอาง'

"อยากสวย!!!"



นี่คือปรารถนาสุดยอดในใจของสาวๆ เกือบทั้งโลก ยุคนี้สาวๆ ใจกล้าบางคนพึ่งพามีดคมกริบของหมอศัลยแพทย์ ในขณะที่แทบทุกคนอาศัย "เครื่องสำอาง" ในการตกแต่งใบหน้ารวมถึงผิวพรรณด้วยหลัก "เสริมจุดเด่น ลบจุดด้อย" ทำให้ตลาดคอสเมติกของโลกขยายขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อสนอง Supply ให้ทันต่อDemand ซึ่งนั่นส่งผลให้มีการผลิตเครื่องสำอางออกมานับหมื่นนับแสนชนิด

เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงซึ่งนำมาใช้กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อความสะอาด สวยงาม หรือเพื่อส่งเสริมให้ เกิดความสวยงาม ทั้งนี้รวมทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ทุกชนิด



เครื่องสำอาง มิได้หมายถึงเฉพาะ ลิปสติก แป้งทาหน้า มาสคารา อายแชโดร์ ดินสอเขียนคิ้วเขียนตาเท่านั้น แต่ เครื่องสำอาง ยังรวมถึงสบู่ แชมพู ยาสีฟัน น้ำยาดัดผม ยาย้อมผม และผ้าอนามัย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เครื่องสำอาง เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน สำหรับคนทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย หรือ อาจกล่าวได้ว่าจำเป็นสำหรับทุกคน

ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมใช้เครื่องสำอางกันมาก ทำให้มีการผลิตเครื่องสำอางออกจำหน่ายแข่งขันกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีทั้ง การผลิตที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะและการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อจำหน่ายในราคา ปรากฎว่ามีผู้ได้รับอันตรายจากเครื่องสำอางเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

ความหมายของ คำว่า "เครื่องสำอาง" ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ว่า



1. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทิ่นผิวต่างๆด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัวซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต เครื่องสำอาง โดยเฉพาะ

3. วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็น เครื่องสำอาง



ดังนั้นอาจสรุปได้ง่าย ๆ ว่า


เครื่องสำอาง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉพาะภายนอกผิวกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำความสะอาดในชีวิตประจำวัน เพื่อระงับกลิ่นกาย หรือแต่งกลิ่นหอม และเพื่อปกป้อง หรือส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีโดยไม่มีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย


สารเคมีบางชนิดในเครื่องสำอางบางประเภทที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ซึ่งผู้บริโภคพึงระมัดระวังคือ


1. สาร พี วี พี ซึ่งเป็นสารทำละลายที่มีอยู่ในน้ำยาสเปรย์ อาจทำให้เกิดการแพ้หรืออักเสบบริเวณหน้าผาก ข้างหู คอ และยังทำให้ผมแข็ง กรอบ เมธิลอัลกอฮอล์ ในน้ำยาสเปรย์ที่ไม่ถูกมาตรฐาน สารนี้เป็นวัตถุมีพิษ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อย่างรวดเร็ว อาจเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการสูดดมและการซึมเข้าทางผิวหนัง

2. สี พาราฟินิลินไดอามิน ในน้ำยาย้อมผม ผู้ที่แพ้สารนี้จะมีอาการรุนแรงมาก หนังศีรษะจะพองบวม มี น้ำเหลืองไหลทำให้นัยน์ตาอักเสบ บวม แดง น้ำตาไหล

3. เกลือโลหะ ในน้ำยาย้อมผม อาจทำให้ผู้ใช้บางรายแพ้โลหะเหล่านี้ได้

4. สี อี โอ ชิน ในลิปสติค ถ้าผู้ใดแพ้ เมื่อโดนแดด ริมฝีปากจะเป็นสีดำคล้ำ

5. เรซิน หรือน้ำมันยางไม้ ในครีมทาขนตาและครีมทาเปลือกตาอาจทำให้เกิดการแพ้ เข้าตาจะทำให้ ตาอักเสบ พร่ามัว บวมแดง หรือผื่นคันที่หนังตา

6. ปรอท แอมโมเนียในครีมลอกฝ้าสารเคมีทั้งสองชนิดนี้ถ้าใช้มากเกินขอบเขตที่กำหนดจะทำให้เกิด อันตรายได้ อาจแพ้ขึ้นผื่นคัน และที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ สารปรอทสามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนัง ทำให้เกิดอันตรายต่อ ระบบภายในร่างกายได้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข ควบคุมส่วนผสมของเครื่องสำอางโดยกำหนดให้ใส่สารปรอท แอมโมเนียได้ไม่เกินร้อยละ 3

7. ไฮโดรควิโนน ในครีมลอกฝ้า หากใช้ไปนาน ๆ ผิวจะกลับขาวมากกว่าผิวปกติจนกลายเป็นด่างขาว แทนที่จะสวยกลับจะทำให้น่าเกลียด สารนี้ห้ามใช้เกินร้อยละ 2

8. เฮกซ่าคลอโรฟิน ในแป้งและสบู่ สารนี้เป็นอันตรายต่อเด็กอ่อน ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง จึงห้ามใช้ในแป้ง และสบู่ที่ใช้กับเด็กอ่อน การเลือกซื้อของสำหรับเด็กอ่อน จึงควรระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย



เครื่องสำอางที่เป็นอันตราย



1.ไพรสด สมุนไพรธรรมชาติ สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ

2.Second Cream ตรา Magnate

3.ครีมทาฝ้าชาเขียว ตรา Magnate

4.โลชั่น วินเซิร์ฟ ลดฝ้า กันแดด

5.ครีมวินเซิร์ฟ

6.เอ็ดการ์ด โลชั่นกันแดดผสมอัลลันโทอิน

7.EASY Herb Night Bright Melasma Cream ครีมแต้มฝ้า กระ จุดด่างดำ สำหรับกลางคืน

8.ครีมสมุนไพรว่านนางสาว

9.เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว

10.ครีมสมุนไพรมะขาม

11.Mena FACIAL CREAM

12.ครีมสมุนไพรมะเขือเทศ

13.ครีมสมุนไพรมะนาว

14.ครีมกันแดด สมุนไพรแตงกวา สูตรพิเศษ

15.SOW ทาฝ้ารอยดำ (ตลับชมพู)

16.BEST BEAUTY ครีมประทินผิว ลดรอยดำ

17.เบสท์โลชั่น โลชั่นปรับสภาพผิว

18.3 P โลชั่น

19.ฝ้า กระ PIGMENT

20.WHITENING CREAM ครีมมุกหน้าขาว

21.VOLK Intensive Lifting Cream USA

22.IFSA

23.ครีมข้นเหนียวสีส้ม

24.ครีมข้นเหนียวสีน้ำตาล

25.เครื่องสำอางครีมหน้าใส IFSA

26.เครื่องสำอางครีมชาเขียว DR.JAPAN

27.The Winner สมุนไพรมะขาม Tamarine Cream สูตรเข้มข้น

28.ครีมสมุนไพร

29.ครีมทาปาก หัวนมชมพูก่อนนอน

30.ยารักษาฝ้า เช้า-ก่อนนอน

31.ทาใต้รักแร้ ง่ามขาดำ ก่อนนอน

32.พรีม เมลาโนไวเทนเนสส์ เอ

33.พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน

34.3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ฝ้าปานกลาง สูตรขาวเนียน

35.3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน

36.3 ทรีเดย์ เนเชอรัล อี พลัส ครีมทาสิว ฝ้า

37.ครีมลูกยอผสมน้ำผึ้ง white noni & honey cream

38.สมุนไพรแตงกวา

39.สีเขียว 4 (เครื่องสำอางกึ่งสำเร็จรูปพร้อมบรรจุ เป็นครีมข้นสีเขียว)

40.สีเหลืองขมิ้น 5 (เครื่องสำอางกึ่งสำเร็จรูปพร้อมบรรจุ เป็นครีมข้นสีเหลือง)



ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง


1. ซื้อ เครื่องสำอาง จากร้านที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้ติดต่อหาผู้รับผิดชอบได้

2. ซื้อ เครื่องสำอาง ที่มีฉลากภาษาไทย ซึ่งบ่งบอกสาระสำคัญเกี่ยวกับ เครื่องสำอาง อย่างครบถ้วน ชัดเจน ได้แก่ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วิธีใช้ และประมาณสุทธิ


3. ปฏิบัติตามวิธีใช้ และใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนที่ระบุไว้ที่ฉลากอย่างเคร่งครัด

4. หากใช้ เครื่องสำอาง ชนิดใดเป็นครั้งแรก ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ด้วยการทาผลิตภัณฑ์นั้นในปริมาณเล็กน้อยบริเวณท้องแขน แล้วทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น แสดงว่าใช้ได้

5. หากใช้ เครื่องสำอาง ใดแล้ว มีความผิดปกติเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรก หรือใช้มาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม) ต้องหยุดใช้ทันที ถ้าหยุดใช้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อค้นหาสาเหตุ และทำการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

6. ถ้ามีประวัติการแพ้สารใดมาก่อน เวลาเลือกซื้อผลืตภัณฑ์ควรพิจารณาข้อมูลในส่วนของส่วนประกอบสำคัญอย่างละเอียด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

7. เมื่อใช้ เครื่องสำอาง เสร็จแล้ว ต้องปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก หรือเชื้อโรคต่างๆ

8. เก็บ เครื่องสำอาง ไว้ในที่แห้งและเย็น อย่าเก็บในที่ร้อนหรือแสงแดดส่องถึง เพราะจะเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าปกติ